ยินดีต้อนรับสู่บล็อก การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ของพิชากร แก้วน้อย ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่15



บันทึกอนุทินครั้งที่15
วันพุธที่ 22 เมษายน  2558
เวลาเรียน  8.30-12.20 น.
เวลาเข้าเรียน 8.30 เวลาเข้าสอน 8.30  เวลาเลิกเรียน 12.20



ความรู้ที่ได้รับ

  ทำกิจกรรมเล่นเกมสนุกๆก่อนเรียน
     อาจารย์ได้นำเกมทายใจสนุกๆชื่อเกมดิ่งพสุธา มาให้นักศึกษาเล่นเพื่อเป็นการเรียกสติและคลายเครียดก่อนเริ่มเรียนในเนื้อหาทฤษฎี


เนื้อหาที่เรียนในวันนี้

       วันนี้เรียนในเรื่องการเขียนแผนIEP หรือเรียกอีกอย่างว่า โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล Individualized Education Program

แผน IEP
เป็นแผนการศึกษาที่ร่างขึ้นโดยผ่านคณะกรรมการ ครู ผู้บริหาร เป็นแผนการศึกษาเฉพาะของเด็กพิเศษ
จุดประสงค์เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก  โดยการทำแผนต้องระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
    1.เริ่มจาการคัดแยกเด็กพิเศษ
    2.รู้ปัญหาของเด็ก ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
    3.ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
    4.เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
    5.แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

แผน IEP ประกอบด้วย
   1.ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
   2.ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
   3.การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
   4.เป้าหมายระยะยาวประจำปี หรือ ระยะสั้น
   5.ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
   6.วิธีการประเมินผล


ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1การรวบรวมข้อมูล
                     รายงานทางการแพทย์
          รายงานการประเมินด้านต่างๆจากคุณหมอหรือคนใกล้ตัว
          บันทึกจากผู้ปกครอง บันทึกจากครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. การจัดทำแผน
    1. ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่เกี่ยวข้องหลักๆมี ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ครูประจำชั้น
    2.กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
    3 กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
    4 จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย 
      กำหนดจุดมุ่งหมาย ระยะยาว คือต้องกำหนดให้ชัดเจน และกว้าง
      กำหนดจุดมุ่งหมาย ระยะสั้น  คือการตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก

จุดมุ่งหมายระยะยาว
กำหนดให้ชัดเจน กว้าง
ตัวอย่าง      น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
                  น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
                  น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น
ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
   - จะสอนใคร
   - พฤติกรรมอะไร
   - เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
   -พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน




3. การใช้แผน
เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
       1ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
        2ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
       3อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล
โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
>>> การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม   อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน<<





ตัวอย่างแบบฟอร์มการเขียนแผนIEP


กิจกรรมหลังเรียน
หลังจากเรียนในเนื้อหาเสร็จอาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม5 คนช่วยกันเขียนแผนIEP
                                                               
                                                   
กลุ่มของฉันช่วยกันเขียนแผนIEP


                             บรรยากาศการเขียนแผนIEPของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-นำตัวอย่างวิธีการเขียนแผนIEP ไปปรับใช้ในการเขียนแผนIEPของตนเองได้
-ในการเขียนแผนIEPได้นั้นผู้เขียนต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับเด็กคนนั้นอย่างลึกซึ้ง รู้ละเอียดทั้งเรื่องครอบครัวของเด็ก จุดอ่อนจุดด้อยของเด็ก การสังเกตเด็กและบันทึกพฤติกรรมเด็กคามความเป็นจริงอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเขียนแผนIEP





การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
  วันนี้พอรู้ว่าอาจารย์จะสอนเกี่ยวกับการเขียนแผนIEPเลยตั้งใจเรียนมากกว่าทุกวัน แม้จะมีความรู้สึกง่วงบ้างเพราะช่วงนี้งานเยอะมากแต่ก็พยายามดึงตัวเองไม่ให้หลับ คิดว่าแผนIEPที่อาจารย์สอนก็ดูเหมือนจะไม่ยากเท่าไหร่ ได้ลองคิดและเขียนแผนIEPกับเพื่อนในกลุ่มแล้วก็ทำได้ไม่ยาก แต่ไม่รู้ว่าเอาไปเขียนเป็นงานเดี่ยวจริงๆแล้วจะเขียนได้เหมือนที่ช่วยกันเขียนกับเพื่อนในห้องหรือเปล่า วันนี้ตอนเรียนรู้สึกว่าฉันมีความรู้ไม่มากพอไม่มีการเตรียมพร้อมในการเขียนแผนที่ดีเลยเพราะว่าฉันจำประเภทและลักษณะของเด็กพิเศษไม่ได้ ถ้าจำได้การเขียนแผนIEPคงจะง่ายขึ้น

ประเมินเพื่อน

วันนี้มีเพื่อนภาคนอกเวลาเรียนมาเรียนด้วย บรรยากาศในห้องดูอบอุ่นเป็นพิเศษ วันนี้เรียนเรื่องการเขียนแผน IEP เพื่อนดูจะเครียดๆนิดหน่อยแต่อาจารย์ได้นำเกมทายใจมาให้ทำเลยทำให้เพื่อนๆผ่อนคลายก่อนการเรียนได้เยอะ ขณะที่เรียนเพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอนกันเกือบทุกคน เพื่อนบางคนเก่งมากตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้ซึ่งเพื่อนหลายคนในห้องคิดคำตอบที่จะตอบไม่ได้ เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์สอนมาก วันนี้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มเขียนแผนกันเสร็จรวดเร็วมากท่าทางทุกคนจะคิดแผนได้ดี

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้นำตัวอย่างโครงสร้างของแผนIEPและได้ยกตัวอย่างขั้นตอนการเขียนแผน อธิบายเป็นขั้นตอนได้อย่างละเอียดชัดเจน อาจารย์มีความอดทนในการสอนมากจริงๆ วันนี้อาจารย์สั่งให้ทำงานกลุ่ม
ซึ่งขณะที่แต่ละกลุ่มคิดแผนIEP อาจารย์ก็ไม่ได้นั่งอยู่เฉยๆแต่อาจารย์ได้เดินดูการทำงานของแต่ละกลุ่มเพื่อนๆหลายกลุ่มขอความช่วยเหลือจากอาจารย์หลายคนเลย และอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำในการเขียนอย่างดีด้วยอาจารย์ใส่ใจการทำงานกลุ่มของแต่ละกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน 






วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่14



บันทึกอนุทินครั้งที่14
วันพุธที่ 15 เมษายน  2558


หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการจัดการเรียนการสอนเนื่องจากอยู่ในช่วงของเทศกาลสงกรานต์

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่13



บันทึกอนุทินครั้งที่13
วันพุธที่ 8 เมษายน  2558
เวลาเรียน  8.30-12.20 น.
เวลาเข้าเรียน 8.30 เวลาเข้าสอน 8.30  เวลาเลิกเรียน 12.20



ความรู้ที่ได้รับ
   ก่อนเรียนในเนื้อหาทฤษฎีอาจารย์ได้เฉลยคำตอบของข้อสอบที่ได้สอบไปในครั้งก่อน

  หลังจากที่รู้คำตอบที่อาจารย์เฉลยแล้ว ทำให้รู้ว่าตนเองมีข้อผิดพลาดในการตอบคำถามข้อสอบของอาจารย์เป็นบางข้อ ข้อผิดพลาดหลักๆเลยคือการใช้ภาษาของตนเองในการตอบคำถาม บางข้อก็ลืมที่จะนำหลักการที่ได้เรียนมาปรับใช้ในการเขียนตอบคำถาม ซึ่งฉันคิดว่าฉันเขียนตอบบรรยายยืดเยื้อเป็นคำพูดของตนเองมากเกินไป  ซึ่งอาจารย์ก็ได้แนะนำนักศึกษาทุกคนว่า ในการเขียนตอบคำถามนั้นไม่จำเป็นต้องเขียนบรรยายยืดเยื้อเกินประเด็นคำถาม คนที่ตอบคำถามได้ดีคือคนที่มีไหวพริบในการแก้ปัญหาได้ดีและต้องสามารถนำหลักการที่เรียนมาปรับใช้ได้


กิจกรรมร้องเพลง
  หลังจากเฉลยข้อสอบเสร็จแล้วอาจารย์มีเพลงมาให้นักศึกษาฝึกร้อง เพลงที่นำมาสอนร้องมีทั้งหมด 5 เพลงคือ เพลงนกกระจิบ เพลงแม่ไก่ออกไข่ เพลงลุงมาชาวนา เพลงเที่ยวท้องนา เพลงลูกแมวสิบตัว  ผู้แต่งคือ ศรีนวล  รัตนสุวรร



เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้

                                           การส่งเสริมทักษะพึ้นฐานทางการเรียน


เป้าหมาย
-เป็นการช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
-เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกดีต่อตนเอง รู้สึกว่า ฉันทำได้” ภูมิใจในตนเอง
-เพื่อให้เด็กมีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
เด็กพิเศษมีช่วงความสนใจสั่นต้องให้เด็กจดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

เด็กพิเศษที่มีช่วงความสนใจสั้นเช่น เด็กสมาธิสั้น วิธีการเล่านิทานให้เด็กที่มีช่วงความสนใจสั้นฟัง นิทานที่เลือกมาเล่าให้ฟังควรเป็นเรื่องที่เด็กสนใจ อาจเป็นเรื่องที่ให้เด็กมีส่วนร่วมในการขยับแข้งขยับขา นิทานที่เลือกเล่าไม่ควรใช้ระยะเวลานานควรเป็นเรื่องที่สั้นๆเพราะเมื่อเด็กฟังนิทานที่เล่าจนจบเด็กจะมีความรู้สึกภูมิใจว่าตนเองนั้นสามารถฟังนิทานได้จบ
  
  >> หลักการเล่านิทานที่ถูกต้องนั้น ถ้าเริ่มเล่านิทานเรื่องนั้นในครั้งแรก ควรเล่าให้เด็กฟังตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องเพื่อให้เด็กรู้เรื่องราวของนิทานเรื่องนั้นก่อนโดยขณะที่เล่าไม่ควรหยุดถามคำถามเด็กเกี่ยวกับนิทานนั้นๆ แต่ครูสามารถถามคำถามเด็กได้เมื่อครูนำนิทานเรื่องนั้นมาเล่าให้เด็กฟังอีกครั้ง แต่ในการเล่านิทานสำหรับเด็กพิเศษที่สมาธิสั้นครูอาจใช้คำถาม ถามแทรกขณะทีเล่าเพื่อกระตุ้นให้เด็กสนใจได้


การเลียนแบบ
การเลียนแบบเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีมากสำหรับเด็กพิเศษ
      เด็กพิเศษจะเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตเพื่อน เมื่อเห็นเพื่อนทำสิ่งต่างๆเด็กพิเศษจะทำสิ่งนั้นตามเพื่อนเองโดยอัตโนมัติ


การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่ ?>>ควรใช้คำพูดที่ชัดเจน พูดซ้ำๆหลายๆครั้ง
เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่?>>ศัพท์ที่ใช้กับเด็กควรเป็นศัพท์ที่ง่าย เด็กฟังแล้วเข้าใจ ไม่ควรเป็นคำศัพท์สำหรับผู้ใหญ่
คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่?>>การใช้คำสั่งสั่งเด็กควรสั่งทีละเรื่อง ไม่ควรสั่งหลายเรื่องพร้อมกัน


การรับรู้ การเคลื่อนไหว
เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าคือการได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น  เด็กต้องมีการตอบสนองอย่างเหมาะสมกับประสาทสัมผัสทั้งห้าในแต่ละด้าน 


การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก เช่น การกรอกน้ำ ตวงน้ำ ต่อบล็อก ศิลปะ(เช่น กิจกรรมตัด ปะ ติด) มุมบ้าน ช่วยเหลือตนเอง

                        ตัวอย่างประเภทของกรรไกรที่เหมาะสมนำมาใช้กับเด็ก
    กรรไกรที่เหมาะนำมาใช้กับเด็กปฐมวัยคือกรรไกรในแบบที่1 เป็นกรรไกรที่มีลักษณะมีปลายโค้งมน ไม่เป็นอันตรายกับเด็ก 
                                    อาจารย์ยกตัวอย่าง การสอนเด็กพิเศษตัดกระดาษ
                 การสอนให้เด็กตัดกระดาษควรมีเส้นให้เด็กเห็น และต้องตัดในครั้งเดียวแล้วขาด


ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
      ควรเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนัก มีพื้นผิวสัมผัส เป็นรูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก เช่น
ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่



         จิ๊กซอที่มีหลายหน้าแบบนี้มีขนาดใหญ่เหมาะกับเด็กแต่ไม่เหมาะกับเด็กพิเศษ เพราะมีจำนวนรูปให้เลือกต่อทุกด้าน อาจทำให้เด็กเกิดอาการสับสน งงได้


ความจำ
ฝึกการจำจากการสนทนา
ถามเด็กเช่น
          -เมื่อเช้าหนูทานอะไร
           -แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
จำตัวละครในนิทาน
จำชื่อครู เพื่อน
จัดกิจกรรมเล่นเกมทายของที่หายไป 



ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์


                                   ตัวอย่าง การสอนมิติสัมพันธ์ เรื่องข้างบน ข้างล่าง


การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-จัดกลุ่มเด็ก
-เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
-รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
-มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
-เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
-พูดในทางที่ดี ให้แรงเสริมด้วยการชม
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
-ทำบทเรียนให้สนุก





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ได้รู้วิธีการในการแก้ปัญหากับเด็กในสถานการณ์ต่างๆ มาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน
-หลักในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพึ้นฐานทางการเรียนควรจัดกิจกรรมให้มีความน่าสนใจ เพราะจะทำให้เด็กมีความกระตือรือร้น สนใจ อยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจ อยากทดลอง เพราะเมื่อเด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนแล้วก็จะทำให้เด็กมีความสุขในการเรียนและเด็กจะมีทักษะทางด้านการเรียนที่ดีขึ้นด้วย
-ได้รู้วิธีการในการฝึกให้เด็กพิเศษให้ทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองโดยอาศัยการเลียนแบบจากคนใกล้ชิดเช่นการเลียนแบบเพื่อน 
-สามารถนำเทคนิคในการกระตุ้นความสนใจเด็กเช่น ครูต้องพยายามเรียกชื่อเด็กบ่อยๆสม่ำเสมอเพื่อเป็นการกระตุ้นเด็กให้มีสติ หรือวิธีการในการเรียกเด็กถ้าครูต้องการเรียกชื่อเด็ก2คนคนหนึ่งเป็นเด็กพิเศษและอีกคนเป็นเด็กปกติ ครูควรเรียกชื่อน้องที่เป็นเด็กพิเศษก่อนสาเหตุที่ต้องเรียกก่อนเพราะเด็กจะมีประสาทสัมผัสช้าเรียกให้เด็กตั้งสติให้ได้ก่อน
-เรื่องทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ได้รู้วิธีการตั้งคำถามถามเด็ก คำถามที่ถามควรมีเกณฑ์ที่ชัดเจนมาวัดได้ ไม่ทำให้เด็กสับสน
-สามารถนำตัวอย่างในการวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการสำหรับเด็ก เช่น การให้แรงเสริมในการพูดชมผลงานของเด็ก การจัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหวในทุกๆกิจกรรมต้องพยายามให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหว เช่น การลุกขึ้นมารับอุปกรณ์ การเดินแจกของให้เพื่อน เป็นต้น



การประเมินผล

ประเมินตนเอง
  วันนี้ฝนตกคิดว่าอาจารย์ต้องเดินเปียกฝนและอาจมีอุปกรณ์ที่ต้องให้ช่วยแน่ๆ ฉันเลยได้เดินไปหาอาจารย์ที่ห้องพักครูและก็เห็นอาจารย์อยู่ในห้องพร้อมกับอุปกรณ์ที่ต้องช่วยถือเลยได้ช่วยถืออุปกรณ์ขึ้นชั้นเรียน ก่อนเรียนในเนื้อหาอาจารย์เฉลยข้อสอบตอนแรกก็มั่นใจว่าข้อนี้อาจจะถูกแต่พออาจารย์เฉลยกลับไม่เป็นอย่างที่คิดก็รู้สึกเสียใจนิดหน่อยคะ  ตอบไม่ถูกตั้งแต่คำถามข้อแรกเสียดายมากเลยค่ะ ข้อแรกที่ถามการย่อยงานใส่ถุงเท้าฉันก็คิดนะคะว่าขั้นแรกต้องให้เด็กนั่งก่อนแต่ฉันไม่ได้เขียนลงไปเพราะไม่รู้ว่าต้องเขียนนั่งด้วยเลยรู้สึกว่าตัวเองสะเพร่าในการตอบคำถามมาก  เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้ฉันตั้งใจเรียนตลอดทั้งคาบเรียน วันนี้ก็มีความสุขมากและรู้สึกว่าตัวเองหัวเราะเยอะกว่าทุกๆคาบที่เรียนมาฉันคิดว่าคงเป็นเพราะสภาพแวดล้อมในห้องที่ดูสนุกสนานด้วย^O^


ประเมินเพื่อน
    เนื่องจากวันนี้ฝนตกหนักมากเพื่อนๆเลยมาเข้าเรียนกันช้า ทำให้เริ่มเนื้อหาที่เรียนช้าไปหลายนาที  วันนี้มีเพื่อนภาคนอกเวลาเรียนมีเรียนร่วมกันด้วยก็รู้สึกอบอุ่นดี ตอนเรียนในเนื้อหาแรกๆเพื่อนๆในห้องตั้งใจฟังอาจารย์สอนเกือบทุกคน ท้ายๆคายเพื่อนเริ่มคุยกัน เอะอะโวยวาย เสียงก็เริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ คุยแข่งกับอาจารย์บ้าง เพื่อนบางคนที่นั่งแถวหลังแอบกดโทรศัพท์เล่นก็มี แต่ถึงแม้ว่าบรรยากาศในวันนี้จะดูวุ่นวายแค่ไหนเพื่อนๆก็ดูมีความสุขกับการเรียน วันนี้ได้ยินเสียงหัวเราะเกือบตลอดทั้งคาบ เพื่อนมีปฏิกิริยาตอบสนองในการเรียนที่สนุกสนานและเสียงดังกันมากโดยเฉพาะตอนตอบคำถามของอาจารย์ บางคนก็พูดหยอกล้อกับอาจารย์ บรรยากาศดูผ่อนคลายมากๆ  ^^



ประเมินอาจารย์
  วันนี้แม้ว่าฝนจะตกอาจารย์ก็ยังคงเข้าสอนตรงเวลาเหมือนทุกๆครั้งแต่นักศึกษามาเรียนช้าทำให้อาจารย์ต้องรอให้นักศึกษามากันให้ครบก่อน  วันนี้ดีมากเลยค่ะที่อาจารย์เฉลยคำตอบให้ฟังทำให้รู้คำตอบที่ถูกต้องในแต่ละข้อโดยเฉพาะคำถามข้อสุดท้ายที่หลายคนสงสัยก็ทำให้หลายคนหายสงสัยและรู้วิธีการแก้ปัญหากับเด็กสมาธิสั้นที่มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นได้
   เนื้อหาที่สอนวันนี้ เกือบทุกหัวข้อที่สอนรวมถึงในแต่ละหัวข้อย่อยอาจารย์ยกตัวอย่างและนำสถานการณ์ต่างๆมาเล่าเพิ่มเติมให้ฟังได้อย่างละเอียดและเยอะมาก บางเรื่องที่อาจารย์เห็นว่าน่าสนใจก็นำมาสอนเพิ่มเติมอีกด้วย วันนี้เห็นสีหน้าอาการของอาจารย์ท่าทางมีความสุขขณะที่สอนนักศึกษา แม้ว่านักศึกษาหลายคนจะคุยกัน พูดคุยเสียงดัง มีแซวอาจารย์บ้าง แต่นั่นก็ทำให้บรรยากาศในการเรียนดูไม่ตึงเครียดและน่าเรียนมากๆเลย^_^