ยินดีต้อนรับสู่บล็อก การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ของพิชากร แก้วน้อย ค่ะ

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่16



บันทึกอนุทินครั้งที่16
วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม  2558



     วันนี้เป็นวันเรียนชดเชยและเป็นวันเรียนวันสุดท้ายของวิชาการจัดประสบการณ์การ                  ศึกษาแบบเรียนรวม กิจกรรมแรกที่เราได้ทำในวันนี้คือการสอบร้องเพลงปฐมวัยซึ่งเพลงทั้งหมดที่แต่ละคนสอบร้องในวันนี้อาจารย์ก็ได้สอนร้องทุกเพลงในระหว่างการเรียนวิชานี้มาโดยตลอด 


  ในการออกมาสอบร้องเพลง เพื่อนๆแต่ละคนจะออกมาจับสลากว่าใครจะได้ร้องเพลงไหนโดยคนที่มีสิทธิออกมาจับสลากก็ต่อเมื่ออาจารย์จับสลากได้ชื่อของคนนั้นแล้วถึงออกมาจับว่าตัวเองได้สอบร้องเพลงอะไร คนละ 1 เพลง

                                                 
เพื่อนๆแต่ละคนออกมาร้องเพลง


     บรรยากาศในการสอบร้องเพลงวันนี้สนุกสนานและเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะอย่างมาก  ก่อนที่จะออกไปเพื่อนหลายๆคนต่างก็ลุ้นว่าเมื่อไหร่ตัวเองจะได้ออกไปจับสลากบ้าง บ้างคนได้ออกไปจับสลากแล้วได้เพลงที่ตัวเองอยากร้องก็ดีใจ  บางคนก็กลัวว่าจะร้องไม่ได้ กรีดร้องตกใจเสียงดังก็มี^0^  ขณะที่ร้องเพลง เพื่อนบางคนออกมาร้องก็ร้องได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อถึงขนาดมีใส่ท่าทางด้วยก็มี   บางคนร้องเพลงไปในทำนองในแบบของตัวเองซึ่งเห็นแล้วก็อดที่จะหัวเราะไม่ได้จริงๆค่ะ ^[]^  และถึงแม้เพื่อนบางคนจะอายไม่กล้าร้อง ร้องผิดบ้าง ถูกบ้าง ร้องไม่ตรงจังหวะ เสียงเพี้ยนบ้างแต่เพื่อนก็มีความพยายามที่จะร้องให้ได้กันทุกคน  ในระหว่างที่ร้องเพลงอาจารย์ก็จะเป็นคนที่คอยเคาะให้จังหวะอยู่เสมอ เพื่อนคนไหนที่ร้องไม่ได้อาจารย์ก็ไม่ปล่อยให้ผ่านไปและให้คะแนนไปในรอบนั้นรอบเดียว แต่อาจารย์ได้ให้โอกาสเพื่อนในการร้องเพลงใหม่อีกครั้งจนกว่าจะร้องได้ดีแต่พอให้โอกาสแล้วร้องไม่ได้อีกอาจารย์ก็ร้องให้ฟังแล้วให้ร้องตามซึ่งพอร้องเสร็จอาจารย์ก็ให้คะแนนเพื่อนได้อย่างดีทำให้วันนี้ไม่มีเพื่อนคนไหนเลยที่ได้คะแนนไม่ถึงครึ่งส่วนมากทุกคนร้องได้และทำคะแนนได้เต็มกันเกือบทุกคน ^_^

  

ฉันได้ร้องเพลง ดวงจันทร์ 
ความจริงแล้วฉันไม่ค่อยอยากร้องเพลงนี้เท่าไหรค่ะ บังเอิญจับได้เพลงนี้พอดี ^_^

    วันนี้อยากออกไปจับสลากเร็วๆมากค่ะแต่อาจารย์จับไม่ได้ชื่อของฉันสักที เลยได้ร้องลำดับท้ายๆของห้อง ความจริงอยากร้องเพลงที่ทำนองสนุกสนานโดยเฉพาะเพลง ลุงมาชาวนากับเพลงเที่ยวท้องนามากๆ ฉันคิดว่าเพลงลุงมาสนุกมากๆคิดว่าถ้าได้ร้องเพลงนี้สอบก็คงจะดี ยิ่งเห็นอาจารย์บอกจะเพิ่มคะแนนให้คนที่ร้องเพลงลุงมาชาวนาก็ยิ่งอยากร้อง พอจับได้เพลงดวงจันทร์ซึ่งเป็นเพลงจังหวะช้าๆที่ต้องลากเสียงให้เป็นทำนองเพราะๆก็กลัวร้องแล้วเสียงเพี้ยน แต่พอได้ออกไปร้องเสร็จแล้วก็ดีใจมากๆค่ะที่ได้คะแนนเต็ม5คะแนน^^



ท้ายคาบอาจารย์ได้แจกรางวัลเด็กดี เทอมนี้ก็เป็นอีกเทอมที่ไม่พลาดกับรางวัลเด็กดี
ได้รางวัลพวกกุญแจผี ^_^ดีใจมากๆเลย!!


ก่อนจากลากันในเทอมนี้ฉันและเพื่อนร่วมกันร้องเพลงให้อาจารย์
บรรยากาศอบอวลไปด้วยความรักความอบอุ่นระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา




                               ภาพสุดประทับใจ กอดกันแน่นๆนะ น่ารักที่สุดเลย!!^0^


     

          ถึงแม้ว่าวันนี้จะเป็นการเรียนครั้งสุดท้ายแล้ว ไม่รู้ว่าขึ้นปี4 จะมีโอกาสได้เจออาจารย์ในการสอนครั้งต่อไปอีกหรือเปล่า  คิดแล้วก็ใจหายมากที่สุดเพราะรู้สึกว่าเวลามันผ่านไปเร็วมาก... ตั้งแต่อาจารย์เข้ามาสอนที่นี่ก็มีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์ในทุกๆปี ไม่มีปีไหนที่ไม่ได้เรียนกับอาจารย์สักครั้ง ปีหน้าก็จะขึ้นปี4แล้ว ความรู้สึกของหนูและเพื่อนๆเหมือนเรากำลังเป็นเด็กนักศึกษาปีหนึ่งที่ยังเป็นเด็กน้อยช่างพูดช่างคุยกันอยู่เลยค่ะ  เวลาที่ได้เรียนกับอาจารย์ทุกครั้งบรรยากาศในการเรียนมันดูผ่อนคลายกว่าวิชาอื่นเพราะไม่ว่าเราจะพูดอะไรหยอกล้ออาจารย์แบบไหน อาจารย์ก็ไม่เคยดุหรือโกรธแต่ก็มีบ้างที่อาจารย์ดุกลับมาแต่เป็นการดุแบบน่ารักน่าเอ็นดูทำให้พวกเราไม่กลัวอาจารย์^^ รู้สึกชอบที่อาจารย์เป็นแบบนี้ วันนี้ได้เห็นเพื่อนบางคนร้องไห้ตอนที่พวกเราจับมือกันยืนล้อมกันเป็นวงกลมแล้วก็ร้องเพลงให้อาจารย์ไปพร้อมๆกัน เห็นถึงความผูกพันธ์ของนักศึกษาทุกๆคนกับอาจารย์มากๆ  มีความสุขทุกครั้งเลยค่ะที่ได้เรียนกับอาจารย์^_^  คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่หนูได้รับจากการเรียนวิชานี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเนื้อหาที่เกี่ยวกับวิชานี้หนูจะพยายามเก็บเกี่ยวความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด สิ่งไหนที่อาจารย์เคยสอนอาจจะไม่ใช้เรื่องที่เกี่ยวกับวิชาการ การร้องเพลงก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้หนูจะไม่ถนัดเรื่องการร้องเพลงเท่าไหร่แต่การเป็นครูปฐมวัยก็จำเป็นที่จะต้องร้องเพลงให้เป็น หนูจะพยายามฝึกร้องเพลงที่อาจารย์สอนให้ได้ทุกเพลง คิดว่าเพลงและเนื้อหาที่เรียนทั้งหมดที่อาจารย์สอนต้องนำไปใช้กับเด็กๆในอนาคตได้อย่างแน่นอนค่ะ^^

 ขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจารย์มอบให้นักศึกษาตลอดระยะเวลาที่ได้เรียนร่วมกันมานะคะ....^_^


วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่15



บันทึกอนุทินครั้งที่15
วันพุธที่ 22 เมษายน  2558
เวลาเรียน  8.30-12.20 น.
เวลาเข้าเรียน 8.30 เวลาเข้าสอน 8.30  เวลาเลิกเรียน 12.20



ความรู้ที่ได้รับ

  ทำกิจกรรมเล่นเกมสนุกๆก่อนเรียน
     อาจารย์ได้นำเกมทายใจสนุกๆชื่อเกมดิ่งพสุธา มาให้นักศึกษาเล่นเพื่อเป็นการเรียกสติและคลายเครียดก่อนเริ่มเรียนในเนื้อหาทฤษฎี


เนื้อหาที่เรียนในวันนี้

       วันนี้เรียนในเรื่องการเขียนแผนIEP หรือเรียกอีกอย่างว่า โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล Individualized Education Program

แผน IEP
เป็นแผนการศึกษาที่ร่างขึ้นโดยผ่านคณะกรรมการ ครู ผู้บริหาร เป็นแผนการศึกษาเฉพาะของเด็กพิเศษ
จุดประสงค์เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก  โดยการทำแผนต้องระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
    1.เริ่มจาการคัดแยกเด็กพิเศษ
    2.รู้ปัญหาของเด็ก ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
    3.ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
    4.เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
    5.แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

แผน IEP ประกอบด้วย
   1.ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
   2.ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
   3.การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
   4.เป้าหมายระยะยาวประจำปี หรือ ระยะสั้น
   5.ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
   6.วิธีการประเมินผล


ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1การรวบรวมข้อมูล
                     รายงานทางการแพทย์
          รายงานการประเมินด้านต่างๆจากคุณหมอหรือคนใกล้ตัว
          บันทึกจากผู้ปกครอง บันทึกจากครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. การจัดทำแผน
    1. ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่เกี่ยวข้องหลักๆมี ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ครูประจำชั้น
    2.กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
    3 กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
    4 จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย 
      กำหนดจุดมุ่งหมาย ระยะยาว คือต้องกำหนดให้ชัดเจน และกว้าง
      กำหนดจุดมุ่งหมาย ระยะสั้น  คือการตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก

จุดมุ่งหมายระยะยาว
กำหนดให้ชัดเจน กว้าง
ตัวอย่าง      น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
                  น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
                  น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น
ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
   - จะสอนใคร
   - พฤติกรรมอะไร
   - เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
   -พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน




3. การใช้แผน
เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
       1ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
        2ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
       3อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล
โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
>>> การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม   อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน<<





ตัวอย่างแบบฟอร์มการเขียนแผนIEP


กิจกรรมหลังเรียน
หลังจากเรียนในเนื้อหาเสร็จอาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม5 คนช่วยกันเขียนแผนIEP
                                                               
                                                   
กลุ่มของฉันช่วยกันเขียนแผนIEP


                             บรรยากาศการเขียนแผนIEPของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-นำตัวอย่างวิธีการเขียนแผนIEP ไปปรับใช้ในการเขียนแผนIEPของตนเองได้
-ในการเขียนแผนIEPได้นั้นผู้เขียนต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับเด็กคนนั้นอย่างลึกซึ้ง รู้ละเอียดทั้งเรื่องครอบครัวของเด็ก จุดอ่อนจุดด้อยของเด็ก การสังเกตเด็กและบันทึกพฤติกรรมเด็กคามความเป็นจริงอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเขียนแผนIEP





การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
  วันนี้พอรู้ว่าอาจารย์จะสอนเกี่ยวกับการเขียนแผนIEPเลยตั้งใจเรียนมากกว่าทุกวัน แม้จะมีความรู้สึกง่วงบ้างเพราะช่วงนี้งานเยอะมากแต่ก็พยายามดึงตัวเองไม่ให้หลับ คิดว่าแผนIEPที่อาจารย์สอนก็ดูเหมือนจะไม่ยากเท่าไหร่ ได้ลองคิดและเขียนแผนIEPกับเพื่อนในกลุ่มแล้วก็ทำได้ไม่ยาก แต่ไม่รู้ว่าเอาไปเขียนเป็นงานเดี่ยวจริงๆแล้วจะเขียนได้เหมือนที่ช่วยกันเขียนกับเพื่อนในห้องหรือเปล่า วันนี้ตอนเรียนรู้สึกว่าฉันมีความรู้ไม่มากพอไม่มีการเตรียมพร้อมในการเขียนแผนที่ดีเลยเพราะว่าฉันจำประเภทและลักษณะของเด็กพิเศษไม่ได้ ถ้าจำได้การเขียนแผนIEPคงจะง่ายขึ้น

ประเมินเพื่อน

วันนี้มีเพื่อนภาคนอกเวลาเรียนมาเรียนด้วย บรรยากาศในห้องดูอบอุ่นเป็นพิเศษ วันนี้เรียนเรื่องการเขียนแผน IEP เพื่อนดูจะเครียดๆนิดหน่อยแต่อาจารย์ได้นำเกมทายใจมาให้ทำเลยทำให้เพื่อนๆผ่อนคลายก่อนการเรียนได้เยอะ ขณะที่เรียนเพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอนกันเกือบทุกคน เพื่อนบางคนเก่งมากตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้ซึ่งเพื่อนหลายคนในห้องคิดคำตอบที่จะตอบไม่ได้ เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์สอนมาก วันนี้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มเขียนแผนกันเสร็จรวดเร็วมากท่าทางทุกคนจะคิดแผนได้ดี

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้นำตัวอย่างโครงสร้างของแผนIEPและได้ยกตัวอย่างขั้นตอนการเขียนแผน อธิบายเป็นขั้นตอนได้อย่างละเอียดชัดเจน อาจารย์มีความอดทนในการสอนมากจริงๆ วันนี้อาจารย์สั่งให้ทำงานกลุ่ม
ซึ่งขณะที่แต่ละกลุ่มคิดแผนIEP อาจารย์ก็ไม่ได้นั่งอยู่เฉยๆแต่อาจารย์ได้เดินดูการทำงานของแต่ละกลุ่มเพื่อนๆหลายกลุ่มขอความช่วยเหลือจากอาจารย์หลายคนเลย และอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำในการเขียนอย่างดีด้วยอาจารย์ใส่ใจการทำงานกลุ่มของแต่ละกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน