บันทึกอนุทินครั้งที่13
วันพุธที่ 8 เมษายน 2558
เวลาเรียน 8.30-12.20 น.
เวลาเข้าเรียน 8.30 เวลาเข้าสอน 8.30 เวลาเลิกเรียน 12.20
ความรู้ที่ได้รับ
ก่อนเรียนในเนื้อหาทฤษฎีอาจารย์ได้เฉลยคำตอบของข้อสอบที่ได้สอบไปในครั้งก่อน
กิจกรรมร้องเพลง
หลังจากเฉลยข้อสอบเสร็จแล้วอาจารย์มีเพลงมาให้นักศึกษาฝึกร้อง เพลงที่นำมาสอนร้องมีทั้งหมด 5 เพลงคือ เพลงนกกระจิบ เพลงแม่ไก่ออกไข่ เพลงลุงมาชาวนา เพลงเที่ยวท้องนา เพลงลูกแมวสิบตัว ผู้แต่งคือ ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้
การส่งเสริมทักษะพึ้นฐานทางการเรียน
ก่อนเรียนในเนื้อหาทฤษฎีอาจารย์ได้เฉลยคำตอบของข้อสอบที่ได้สอบไปในครั้งก่อน
หลังจากที่รู้คำตอบที่อาจารย์เฉลยแล้ว ทำให้รู้ว่าตนเองมีข้อผิดพลาดในการตอบคำถามข้อสอบของอาจารย์เป็นบางข้อ ข้อผิดพลาดหลักๆเลยคือการใช้ภาษาของตนเองในการตอบคำถาม บางข้อก็ลืมที่จะนำหลักการที่ได้เรียนมาปรับใช้ในการเขียนตอบคำถาม ซึ่งฉันคิดว่าฉันเขียนตอบบรรยายยืดเยื้อเป็นคำพูดของตนเองมากเกินไป ซึ่งอาจารย์ก็ได้แนะนำนักศึกษาทุกคนว่า ในการเขียนตอบคำถามนั้นไม่จำเป็นต้องเขียนบรรยายยืดเยื้อเกินประเด็นคำถาม คนที่ตอบคำถามได้ดีคือคนที่มีไหวพริบในการแก้ปัญหาได้ดีและต้องสามารถนำหลักการที่เรียนมาปรับใช้ได้
หลังจากเฉลยข้อสอบเสร็จแล้วอาจารย์มีเพลงมาให้นักศึกษาฝึกร้อง เพลงที่นำมาสอนร้องมีทั้งหมด 5 เพลงคือ เพลงนกกระจิบ เพลงแม่ไก่ออกไข่ เพลงลุงมาชาวนา เพลงเที่ยวท้องนา เพลงลูกแมวสิบตัว ผู้แต่งคือ ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้
การส่งเสริมทักษะพึ้นฐานทางการเรียน
-เป็นการช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
-เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกดีต่อตนเอง รู้สึกว่า “ฉันทำได้” ภูมิใจในตนเอง
-เพื่อให้เด็กมีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจ อยากทดลอง
ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
เด็กพิเศษมีช่วงความสนใจสั่นต้องให้เด็กจดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
เด็กพิเศษที่มีช่วงความสนใจสั้นเช่น เด็กสมาธิสั้น วิธีการเล่านิทานให้เด็กที่มีช่วงความสนใจสั้นฟัง นิทานที่เลือกมาเล่าให้ฟังควรเป็นเรื่องที่เด็กสนใจ อาจเป็นเรื่องที่ให้เด็กมีส่วนร่วมในการขยับแข้งขยับขา นิทานที่เลือกเล่าไม่ควรใช้ระยะเวลานานควรเป็นเรื่องที่สั้นๆเพราะเมื่อเด็กฟังนิทานที่เล่าจนจบเด็กจะมีความรู้สึกภูมิใจว่าตนเองนั้นสามารถฟังนิทานได้จบ
>> หลักการเล่านิทานที่ถูกต้องนั้น ถ้าเริ่มเล่านิทานเรื่องนั้นในครั้งแรก ควรเล่าให้เด็กฟังตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องเพื่อให้เด็กรู้เรื่องราวของนิทานเรื่องนั้นก่อนโดยขณะที่เล่าไม่ควรหยุดถามคำถามเด็กเกี่ยวกับนิทานนั้นๆ แต่ครูสามารถถามคำถามเด็กได้เมื่อครูนำนิทานเรื่องนั้นมาเล่าให้เด็กฟังอีกครั้ง แต่ในการเล่านิทานสำหรับเด็กพิเศษที่สมาธิสั้นครูอาจใช้คำถาม ถามแทรกขณะทีเล่าเพื่อกระตุ้นให้เด็กสนใจได้
เด็กพิเศษจะเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตเพื่อน เมื่อเห็นเพื่อนทำสิ่งต่างๆเด็กพิเศษจะทำสิ่งนั้นตามเพื่อนเองโดยอัตโนมัติ
เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่ ?>>ควรใช้คำพูดที่ชัดเจน พูดซ้ำๆหลายๆครั้ง
เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่?>>ศัพท์ที่ใช้กับเด็กควรเป็นศัพท์ที่ง่าย เด็กฟังแล้วเข้าใจ ไม่ควรเป็นคำศัพท์สำหรับผู้ใหญ่
คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่?>>การใช้คำสั่งสั่งเด็กควรสั่งทีละเรื่อง ไม่ควรสั่งหลายเรื่องพร้อมกัน
เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าคือการได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น เด็กต้องมีการตอบสนองอย่างเหมาะสมกับประสาทสัมผัสทั้งห้าในแต่ละด้าน
ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก เช่น การกรอกน้ำ
ตวงน้ำ ต่อบล็อก ศิลปะ(เช่น กิจกรรมตัด ปะ ติด) มุมบ้าน ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างประเภทของกรรไกรที่เหมาะสมนำมาใช้กับเด็ก
กรรไกรที่เหมาะนำมาใช้กับเด็กปฐมวัยคือกรรไกรในแบบที่1 เป็นกรรไกรที่มีลักษณะมีปลายโค้งมน ไม่เป็นอันตรายกับเด็ก
อาจารย์ยกตัวอย่าง การสอนเด็กพิเศษตัดกระดาษ
การสอนให้เด็กตัดกระดาษควรมีเส้นให้เด็กเห็น และต้องตัดในครั้งเดียวแล้วขาด
ควรเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนัก มีพื้นผิวสัมผัส เป็นรูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก เช่น
ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
จิ๊กซอที่มีหลายหน้าแบบนี้มีขนาดใหญ่เหมาะกับเด็กแต่ไม่เหมาะกับเด็กพิเศษ เพราะมีจำนวนรูปให้เลือกต่อทุกด้าน อาจทำให้เด็กเกิดอาการสับสน งงได้
ฝึกการจำจากการสนทนา
ถามเด็กเช่น
-เมื่อเช้าหนูทานอะไร
-แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
จำตัวละครในนิทาน
จำชื่อครู เพื่อน
จัดกิจกรรมเล่นเกมทายของที่หายไป
-จัดกลุ่มเด็ก
-เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
-รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
-มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
-เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
-พูดในทางที่ดี ให้แรงเสริมด้วยการชม
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
-ทำบทเรียนให้สนุก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ได้รู้วิธีการในการแก้ปัญหากับเด็กในสถานการณ์ต่างๆ มาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน
-หลักในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพึ้นฐานทางการเรียนควรจัดกิจกรรมให้มีความน่าสนใจ เพราะจะทำให้เด็กมีความกระตือรือร้น สนใจ อยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจ อยากทดลอง เพราะเมื่อเด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนแล้วก็จะทำให้เด็กมีความสุขในการเรียนและเด็กจะมีทักษะทางด้านการเรียนที่ดีขึ้นด้วย
-ได้รู้วิธีการในการฝึกให้เด็กพิเศษให้ทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองโดยอาศัยการเลียนแบบจากคนใกล้ชิดเช่นการเลียนแบบเพื่อน
-สามารถนำเทคนิคในการกระตุ้นความสนใจเด็กเช่น ครูต้องพยายามเรียกชื่อเด็กบ่อยๆสม่ำเสมอเพื่อเป็นการกระตุ้นเด็กให้มีสติ หรือวิธีการในการเรียกเด็กถ้าครูต้องการเรียกชื่อเด็ก2คนคนหนึ่งเป็นเด็กพิเศษและอีกคนเป็นเด็กปกติ ครูควรเรียกชื่อน้องที่เป็นเด็กพิเศษก่อนสาเหตุที่ต้องเรียกก่อนเพราะเด็กจะมีประสาทสัมผัสช้าเรียกให้เด็กตั้งสติให้ได้ก่อน
-เรื่องทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ได้รู้วิธีการตั้งคำถามถามเด็ก คำถามที่ถามควรมีเกณฑ์ที่ชัดเจนมาวัดได้ ไม่ทำให้เด็กสับสน
-สามารถนำตัวอย่างในการวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการสำหรับเด็ก เช่น การให้แรงเสริมในการพูดชมผลงานของเด็ก การจัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหวในทุกๆกิจกรรมต้องพยายามให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหว เช่น การลุกขึ้นมารับอุปกรณ์ การเดินแจกของให้เพื่อน เป็นต้น
การประเมินผล
วันนี้ฝนตกคิดว่าอาจารย์ต้องเดินเปียกฝนและอาจมีอุปกรณ์ที่ต้องให้ช่วยแน่ๆ ฉันเลยได้เดินไปหาอาจารย์ที่ห้องพักครูและก็เห็นอาจารย์อยู่ในห้องพร้อมกับอุปกรณ์ที่ต้องช่วยถือเลยได้ช่วยถืออุปกรณ์ขึ้นชั้นเรียน ก่อนเรียนในเนื้อหาอาจารย์เฉลยข้อสอบตอนแรกก็มั่นใจว่าข้อนี้อาจจะถูกแต่พออาจารย์เฉลยกลับไม่เป็นอย่างที่คิดก็รู้สึกเสียใจนิดหน่อยคะ ตอบไม่ถูกตั้งแต่คำถามข้อแรกเสียดายมากเลยค่ะ ข้อแรกที่ถามการย่อยงานใส่ถุงเท้าฉันก็คิดนะคะว่าขั้นแรกต้องให้เด็กนั่งก่อนแต่ฉันไม่ได้เขียนลงไปเพราะไม่รู้ว่าต้องเขียนนั่งด้วยเลยรู้สึกว่าตัวเองสะเพร่าในการตอบคำถามมาก เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้ฉันตั้งใจเรียนตลอดทั้งคาบเรียน วันนี้ก็มีความสุขมากและรู้สึกว่าตัวเองหัวเราะเยอะกว่าทุกๆคาบที่เรียนมาฉันคิดว่าคงเป็นเพราะสภาพแวดล้อมในห้องที่ดูสนุกสนานด้วย^O^
เนื่องจากวันนี้ฝนตกหนักมากเพื่อนๆเลยมาเข้าเรียนกันช้า ทำให้เริ่มเนื้อหาที่เรียนช้าไปหลายนาที วันนี้มีเพื่อนภาคนอกเวลาเรียนมีเรียนร่วมกันด้วยก็รู้สึกอบอุ่นดี ตอนเรียนในเนื้อหาแรกๆเพื่อนๆในห้องตั้งใจฟังอาจารย์สอนเกือบทุกคน ท้ายๆคายเพื่อนเริ่มคุยกัน เอะอะโวยวาย เสียงก็เริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ คุยแข่งกับอาจารย์บ้าง เพื่อนบางคนที่นั่งแถวหลังแอบกดโทรศัพท์เล่นก็มี แต่ถึงแม้ว่าบรรยากาศในวันนี้จะดูวุ่นวายแค่ไหนเพื่อนๆก็ดูมีความสุขกับการเรียน วันนี้ได้ยินเสียงหัวเราะเกือบตลอดทั้งคาบ เพื่อนมีปฏิกิริยาตอบสนองในการเรียนที่สนุกสนานและเสียงดังกันมากโดยเฉพาะตอนตอบคำถามของอาจารย์ บางคนก็พูดหยอกล้อกับอาจารย์ บรรยากาศดูผ่อนคลายมากๆ ^^
วันนี้แม้ว่าฝนจะตกอาจารย์ก็ยังคงเข้าสอนตรงเวลาเหมือนทุกๆครั้งแต่นักศึกษามาเรียนช้าทำให้อาจารย์ต้องรอให้นักศึกษามากันให้ครบก่อน วันนี้ดีมากเลยค่ะที่อาจารย์เฉลยคำตอบให้ฟังทำให้รู้คำตอบที่ถูกต้องในแต่ละข้อโดยเฉพาะคำถามข้อสุดท้ายที่หลายคนสงสัยก็ทำให้หลายคนหายสงสัยและรู้วิธีการแก้ปัญหากับเด็กสมาธิสั้นที่มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นได้
เนื้อหาที่สอนวันนี้ เกือบทุกหัวข้อที่สอนรวมถึงในแต่ละหัวข้อย่อยอาจารย์ยกตัวอย่างและนำสถานการณ์ต่างๆมาเล่าเพิ่มเติมให้ฟังได้อย่างละเอียดและเยอะมาก บางเรื่องที่อาจารย์เห็นว่าน่าสนใจก็นำมาสอนเพิ่มเติมอีกด้วย วันนี้เห็นสีหน้าอาการของอาจารย์ท่าทางมีความสุขขณะที่สอนนักศึกษา แม้ว่านักศึกษาหลายคนจะคุยกัน พูดคุยเสียงดัง มีแซวอาจารย์บ้าง แต่นั่นก็ทำให้บรรยากาศในการเรียนดูไม่ตึงเครียดและน่าเรียนมากๆเลย^_^
เนื้อหาที่สอนวันนี้ เกือบทุกหัวข้อที่สอนรวมถึงในแต่ละหัวข้อย่อยอาจารย์ยกตัวอย่างและนำสถานการณ์ต่างๆมาเล่าเพิ่มเติมให้ฟังได้อย่างละเอียดและเยอะมาก บางเรื่องที่อาจารย์เห็นว่าน่าสนใจก็นำมาสอนเพิ่มเติมอีกด้วย วันนี้เห็นสีหน้าอาการของอาจารย์ท่าทางมีความสุขขณะที่สอนนักศึกษา แม้ว่านักศึกษาหลายคนจะคุยกัน พูดคุยเสียงดัง มีแซวอาจารย์บ้าง แต่นั่นก็ทำให้บรรยากาศในการเรียนดูไม่ตึงเครียดและน่าเรียนมากๆเลย^_^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น