ยินดีต้อนรับสู่บล็อก การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ของพิชากร แก้วน้อย ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่9



บันทึกอนุทินครั้งที่9
วันพุธที่ 11  มีนาคม  2558
เวลาเรียน  8.30-12.20 น.
เวลาเข้าเรียน 8.30 เวลาเข้าสอน 8.30  เวลาเลิกเรียน 12.20



ความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้อาจารย์มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสอบบรรจุรับราชการครูมาเล่าให้นักศึกษาฟัง ซึ่งอาจารย์ให้คำแนะนำต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องแนวข้อสอบ การเตรียมความพร้อมในการสอบ การเลือกโรงเรียน รวมถึงตอบข้อสงสัยของนักศึกษาในห้องเรียนที่ถามเกี่ยวกับการสอบ ซึ่งเรื่องที่อาจารย์นำมาเล่าให้นักศึกษาฟังในวันนี้เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ทำให้มีแนวทางในการเตรียมตัววางแผนการสอบสำหรับนักศึกษาที่อยากเป็นคุณครู

   หลังจากนั้นอาจารย์มีเกมแบบทดสอบเชิงจิตวิทยามาให้นักศึกษาในห้องทำเพื่อความสนุกสนานและคลายเครียดก่อนเรียนในเนื้อหาทฤษฎี ซึ่งจากการทำแบบทดสอบนี้ก็ทำให้รู้ว่าแท้จริงนั้นตัวเองเป็นคนเช่นไร
             
สนุกสนานก่อนการเรียนด้วย คำถามเชิงจิตวิทยารูปสิงโตกินม้าลาย 


กิจกรรมร้องเพลง
      ก่อนเรียนในเนื้อหาอาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันร้องทบทวนเพลงทั้งหมด 6 เพลงของศรีนวล  รัตนสุวรร อีกครั้ง ครั้งนี้เพื่อนๆในห้องร้องเพลงได้ดีขึ้นมากจริงๆ


                                      บรรยากาศในการร้องเพลงร่วมกันภายในชั้นเรียน


เนื้อหา

เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้เรื่อง การส่งเสริมทักษะภาษาของเด็กพิเศษ


การวัดความสามารถทางภาษา

   วัดความสามารถทางภาษาได้จากการที่เด็กสามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด สามารถตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกทางกายเช่น การพยักหน้า การยิ้ม ส่ายหัว เป็นต้น และการแสดงออกทางวาจาด้วยการพูดถามหาสิ่งต่างๆ การบอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้ไหม เช่น วันนี้เด็กทำอะไรมาบ้าง เรียงลำดับเหตุการณ์ในวันนั้นๆ และการใช้คำศัพท์ของตัวเอง(ศัพท์เฉพาะตัว)กับเด็กคนอื่นได้หรือไม่


การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
การพูดตกหล่น เช่น จิ้งจกเป็นจก หนังสือเป็นสือ เป็นต้น
การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง เช่น ง่วง เป็นม่ง/ง่ง  ไม้กวาดเป็นไม้ฟาด  พ่อเป็นป่อ เป็นต้น
การพูดติดอ่าง



การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัดของเด็ก
 *ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ   ตามสบาย   คิดก่อนพูด” *
อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด เช่นในกรณีที่เด็กพูดผิดไม่ควรพูดขัดขึ้นมา
อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
 *เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน *มีการได้ยินที่บกพร่อง


ทักษะพื้นฐานทางภาษา สำหรับเด็กพิเศษจำเป็นต้องมีทักษะดังนี้
 ทักษะการรับรู้ภาษา
 การแสดงออกทางภาษา
*การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด เด็กพิเศษส่วนมากมักไม่แสดงออกทางคำพูดแต่จะแสดงออกทางร่างกาย สีหน้า ท่าทาง แทนการพูด


ตัวอย่างแบบสังเกต พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา




ตัวอย่างแบบสังเกต พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก



ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย

การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
ให้เวลาเด็กได้พูด
คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
ควรเป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเองโดยที่ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า*
เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
ใช้คำถามปลายเปิด
เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
ร่วมกิจกรรมกับเด็ก


                                         การสอนตามเหตุการณ์(Incidental Teaching
วิธีนี้ใช้ได้ดีมากกับเด็กโดยเฉพาะเด็กพิเศษ
ตัวอย่างการสอนแบบ Incidental Teaching
สมมติว่าเด็กจะใส่ผ้ากันเปื้อน
ครูมองเห็นว่าเด็กจะทำอะไรแต่ต้องทำเหมือนไม่รู้ว่าเด็กกำลังทำอะไร 
โดยครูใช้คำถามถามเด็ก เช่น หนูกำลังทำอะไรอยู่?
เมื่อเด็กได้ยินครูถามแล้วบอกความต้องการของตนเองว่าต้องการใส่ผ้ากันเปื้อน ครูก็จะช่วยสอนเด็กใส่
แต่ถ้าถามแล้วเด็กไม่ตอบครูอาจถามเป็นคำตอบว่า หนูจะใส่ผ้ากันเปื้อนใช่ไหม? เป็นการบอกบท
เมื่อเด็กมีปฏิกิริยาตอบสนอง เช่น การพยักหน้า ยื่นผ้าให้ครู แสดงให้รู้แล้วว่าเด็กได้บอกความต้องการของตนเองครูจึงจะช่วยเด็กใส่และสอนเด็กใส่ได้  
     การสอนให้เด็กรู้จักผ้ากันเปื้อนครุจะพูดกับเด็กซ้ำๆว่านี่คือผ้ากันเปื้อนนะ ให้เด็กพูดคำว่าผ้ากันเปื้อนตามครู พูดซ้ำๆ เพื่อให้เด็กรู้ว่าสิ่งที่ใส่นี้คือผ้ากันเปื้อน ไม่นานเด็กก็จะจำได้เอง



หลังจากเรียนในเนื้อหาเสร็จอาจารย์มีข้อสอบ Post test ให้นักศึกษาในห้องช่วยกันตอบคำถาม


กิจกรรมท้ายคาบเรียน ในวันนี้เป็นกิจกรรมศิลปะบำบัดเด็กพิเศษ ชื่อกิจกรรมภาพabstract

   อาจารย์ให้จับคู่2คน ช่วยกันวาดเส้นโดยมีกติกาว่า ให้แต่ละคนใช้สีเทียนคนละแท่งวาดเส้นให้เป็นเส้นตรง จะซิกแซกหรือเฉียงได้แต่ต้องเป็นเส้นตรงโดยการวาดนั้นจะตรงวาดไปเรื่อยๆห้ามยกสีเทียนขึ้น ซึ่งในขณะที่วาดอาจารย์จะเปิดเพลงบรรเลงสำหรับบำบัดเด็กพิเศษไปด้วยเมื่อเพลงจบให้ทุกคนหยุดวาด




                                                      วาดออกมาเป็นเส้นตรงตัดกันไปมา


    หลังจากวาดเสร็จแล้วให้ช่วยกันระบายสีลงใส่ในเส้นที่ตัดกันเป็นช่องปิด ลงสีให้เต็มช่องครบทุกช่อง เสร็จแล้วจะได้ผลงานคล้ายภาพabstractที่มีสีสันสวยงามตัดกันไปมา



ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมศิลปะบำบัดเด็กพิเศษโดยการวาดเส้นภาพabstract                         -เพื่อให้เด็กมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
-ฝึกความอดทนและฝึกการสังเกต
-พัฒนาด้านมิติสัมพันธ์
-ได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
-พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก การใช้มือและนิ้วมือที่แข็งแรง

  " ผลงานศิลปะยังสามารถบอกได้ว่าเด็กแต่ละคนมีบุคลิกลักษณะภายในตนเองเป็นอย่างไร"




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-นำกิจกรรมบำบัดโดยการวาดภาพลายเส้นและจุดไปใช้จัดกิจกรรมสำหรับบำบัดเด็กพิเศษโดยเฉพาะเด็กออทิสติก เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกทางความรู้สึกของตนเองผ่านผลงานศิลปะนอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมือที่ดี ฝึกการมีสมาธิ ความอดทนได้เป็นอย่างดี
-นำคำแนะนำในการสอบบรรจุรับราชการครูรวมถึงข้อปฏิบัติต่างๆที่เป็นประโยชน์ไปเป็นแบบอย่างและเป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบบรรจุครูในอนาคต
-ได้รู้วิธีการในการปฏิบัติตัวของครูความรับผิดชอบของครูปฐมวัยและวิธีการในการส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กซึ่งสามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เช่น หลักการสอนตามเหตุการณ์ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีมากวิธีหนึ่งในการสอนเด็กพิเศษแบบตัวต่อตัว


การประเมินผล

ประเมินตนเอง
    
  วันนี้ก็เป็นอีกสัปดาห์หนึ่งที่ได้เดินไปช่วยอาจารย์ยกอุปกรณ์การเรียนการสอน ในชั่วโมงเรียนวันนี้เนื้อหาที่อาจารย์สอนฉันตั้งใจฟังเกือบตลอดคาบแต่ก็มีบ้างที่แอบสมาธิหลุดโดยเฉพาะช่วงที่อาจารย์เล่าเรื่องตลกเกี่ยวกับเด็กทำให้ฉันหลุดหัวเราะและเผลอหันไปคุยกับเพื่อนครั้งหน้าจะพยายามมีสติให้มากกว่านี้ค่ะ^_^ วันนี้อาจารย์ได้ถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เคยเรียนไปแล้วซึ่งก็มีหลายคำถามที่ฉันจำไม่ได้และบางคำถามคิดว่าถูกแต่ไม่กล้าตอบ มีข้อหนึ่งที่ฉันมั่นใจที่อาจารย์ถามเกี่ยวกับcerebral palsy หรือCPคืออะไร ฉันตอบว่าเกี่ยวกับการบกพร่องทางสมองแต่คำตอบที่ถูกต้องก็ใกล้เคียงคือพิการทางสมองทำให้ฉันเสียดายมากๆ เลยรู้สึกว่าความรู้เก่าเริ่มจำไม่ได้แล้ว 
  กิจกรรมบำบัดวาดภาพabstractในวันนี้ฉันรู้สึกผ่อนคลายมากๆคะที่ได้ทำกิจกรรมถึงแม้จะใช้เวลานานพอสมควรในการระบายสีแต่ก็พยายามระบายให้ครบๆทุกๆช่องจนเสร็จ
  กิจกรรมร้องเพลง วันนี้ฉันรู้สึกว่าฉันร้องเพลงได้คล่องขึ้นและตรงจังหวะด้วย พอร้องเพลงได้ดีขึ้นก็รู้สึกภูมิใจและรู้สึกสนุกกับการร้องเพลงขึ้นมาเลยค่ะ


ประเมินเพื่อน


   วันนี้มีเพื่อนภาคนอกเวลาเรียนด้วยในห้องเรียนเลยมีจำนวนคนเรียนมากขึ้นทำให้การเรียนในวันนี้ดูอบอุ่นและมีสีสันขึ้นมาก การเรียนในวันนี้เพื่อนๆในห้องมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์เกือบทุกคน หลายๆคนแย่งกันตอบคำถามด้วยความสนุกสนานและในขณะที่อาจารย์สอนมีบางคนแอบคุยกัน บางคนก็นั่งเหม่อลอยบ้างก็มีแต่นั่นก็เป็นส่วนน้อย ส่วนมากเพือนจะหัวเราะสนุกสนานกับเรื่องที่อาจารย์นำมาเล่าสอดแทรกในการสอนทำให้ได้ยินเสียงหัวเราะตลอดทั้งคาบเลย^_^ เรื่องการร้องเพลงทบทวนเพลงที่เพื่อนๆร้องในวันนี้ก็ร้องได้ดีและตรงจังหวะขึ้นมากกว่าครั้งก่อน ส่วนกิจกรรมศิลปะบำบัดเพื่อนทุกคนมีความตั้งใจในการลงเส้นระบายสีกันมากแม้จะมีบางคนที่บ่นบ้างเรื่องการลงสีเล็กน้อย จากกิจกรรมนี้ก็ยังเห็นความมีน้ำใจของเพื่อนในห้องที่ทำงานของตนเองเสร็จแล้วมาช่วยเพื่อนที่ยังไม่เสร็จอีกด้วยค่ะ


ประเมินอาจารย์

  อาจารย์ให้ความรู้เรื่องการสอบบรรจุ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากทำให้นักศึกษาทราบและสามารถวางแผนในการเตรียมตัวเรื่องต่างๆสำหรับคนที่จะสอบบรรจุครูในอนาคตได้   เนื้อหาที่อาจารย์เตรียมมาสอนในPower point มีไม่มากแต่อาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมในแต่ละหัวข้อได้ละเอียดอีกทั้งอาจารย์ยังยกตัวอย่างเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาของเด็กที่อาจารย์เคยพบเจอมาสอดแทรกในเนื้อหาที่สอนในแต่ละหัวข้อได้ละเอียดน่าสนใจ บางเนื้อหาที่สอนเพื่อให้นักศึกษามองเห็นภาพและเข้าใจได้ยิ่งขึ้นอาจารย์ก็จะยกตัวอย่างให้เพื่อนแสดงเป็นเด็กพิเศษซึ่งเพื่อนก็แสดงได้ค่อนข้างและตลกมาก และนั่นก็ทำให้เพื่อนๆในห้องมีคำถามและข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับเด็กที่แต่ละคนพบเจอมาถามอาจารย์และอาจารย์ก็อธิบายและให้คำตอบได้หมดทุกข้อสงสัย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น