ยินดีต้อนรับสู่บล็อก การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ของพิชากร แก้วน้อย ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่10



บันทึกอนุทินครั้งที่10
วันพุธที่ 18  มีนาคม  2558
เวลาเรียน  8.30-12.20 น.
เวลาเข้าเรียน 8.30 เวลาเข้าสอน 8.30  เวลาเลิกเรียน 12.20



ความรู้ที่ได้รับ

       วันนี้ ก่อนเริ่มเรียนในเนื้อหาทฤษฎี อาจารย์มีกิจกรรมถามคำถามสนุกๆมาให้เล่น โดยอาจารย์ได้บรรยายสมมติเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในไร้สตรอเบอร์รี่แห่งหนึ่งแล้วถามคำถามให้นักศึกษาตอบคำถามตามความรู้สึกของตนเอง เพื่อทดสอบความเป็นตัวตนของเเต่ละคน  กิจกรรมคำถามทายใจนี้ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนมีแต่เสียงหัวเราะและความสนุกสนาน^_^

                                            สนุกสนานกับแบบคำถามทายใจ ไร่สตอว์เบอร์รี่
         
เนื้อหา

เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้เรื่อง การส่งเสริมทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กพิเศษ

  การช่วยเหลือตนเองของเด็กพิเศษคือการที่เด็กเรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด เช่น การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว และกิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
อยากทำงานตามความสามารถ เพราะรู้สึกภูมิใจ
เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
เช่น เด็กเล็กผูกเชือกรองเท้าตามเด็กที่โตกว่า


ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
การได้ทำด้วยตนเอง เมื่อเด็กทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำเร็จได้ด้วยตนเองเด็กจะเกิดความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองและจะทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น ควรใจแข็ง เพื่อฝึกหัดให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
คำพูดที่ไม่ควรพูดกับเด็ก “ หนูทำช้า   หนูยังทำไม่ได้

จะช่วยเมื่อไหร่? ให้สังเกตว่าเด็กมีอาการเหล่านี้สามารถก็ช่วยเด็กได้
เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม


                                      ตารางทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)


                                       ตารางทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)


                                            ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)


                                        ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6ปี)


ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
    แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
    เรียงลำดับตามขั้นตอน

ตัวอย่าง การย่อยงาน สอนเด็กเข้าส้วม
                                              เริ่มจาก
         1 เข้าไปในห้องส้วม
         2ดึงกางเกงลงมา
         3ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
         4 ปัสสาวะหรืออุจจาระ
         5 ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
         6 ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
         7 กดชักโครกหรือตักน้ำราด
         8 ดึงกางเกงขึ้น
         9 ล้างมือ
        10 เช็ดมือ
        11เดินออกจากห้องส้วม


      การวางแผนทีละขั้นโดยการแยกกิจกรรมให้เป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
                                    
                          ความสำเร็จชิ้นเล็กๆจะนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล   

กิจกรรมท้ายคาบเรียน วงกลมหลากสีทดสอบจิตใจ

      อาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพระบายสีเส้นวงกลมซ้อนทับกันหลายๆชั้นโดยมีอุปกรณ์ในการทำคือ กระดาษร้อยปอนด์ สีเทียนสำหรับวาดระบายสี และกรรไกรสำหรับใช้ตัดกระดาษให้เป็นวงกลม





                    หลังจากระบายสีเสร็จแล้ว ให้ใช้กรรไกรตัดให้เป็นรูปวงกลมตามขนาดที่เราวาด 

                                                      เสร็จแล้วกลมหลากสีสันในแบบของฉัน


     หลังจากที่แต่ละคนทำวงกลมหลากสีของตนเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ได้นำรูปภาพลำต้นของต้นไม้มาให้แต่ละคนออกไปติดรูปวงกลมของตนเองลงบนตำแหน่งต่างๆตามใจชอบ

เพื่อนแต่ละคนออกมาติดวงกลมหลากสี


     เพื่อนๆแต่ละคนออกมาติดวงกลมของตนเองลงบนตำแหน่งต่างๆจนครบทุกคนแล้ว จะได้รูปลำต้นของต้นไม้ที่ถูกแต่งแต้มด้วยวงกลมแต่ละวงกลมที่มีสีสันหลากหลายสีคล้ายกับว่า ต้นไม้ต้นนี้มีใบไม้ที่มีสีสันหลากหลายสีครบทุกสีเลย สวยงามมากจริงๆ^0^

      กิจกรรมนี้สามารถบ่งบอกถึงตัวตนที่แท้จริงของแต่ละคนได้จากการระบายสีแต่ละสีในตำแหน่งต่างๆและตำแหน่งในการติดวงกลมลงบนภาพลำต้นไม้ ว่าตนเองนั้นมีลักษณะนิสัยภายนอก ภายใน บุคลิกของตนเองเป็นอย่างไร ซึ่งสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมเพื่อทดสอบจิตใจของเด็กได้ดี


                                                     ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรม วงกลมหลากสี  
           กิจกรรมนี้สามารถนำไปจัดให้กับเด็กปกติและเด็กพิเศษได้เช่น เด็กออทิสติก ดาวซินโดรม สมาธิสั้น เพื่อฝึกให้เด็กมีสมาธิ ฝึกความอดทน พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และได้เรื่องของมิติสัมพันธ์การลากเส้น และยังได้ทักษะทางสังคมในขณะที่ร่วมกันวางแผนทำกิจกรรม





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-นำกิจกรรมบำบัดโดยการระบายสีวาดเส้นวงกลมไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กได้ทุกประเภททั้งเด็กที่ปกติและเด็กพิเศษโดยเฉพาะเด็กออทิสติก ดาวซินโดรม สมาธิสั้น กิจกรรมนี้ยังส่งเสริมให้เด็กได้แสดงความรู้สึกของตนเองผ่านการลงสีต่างๆเป็นวงกลมซึ่งสามารถบ่งบอกให้เห็นถึงตัวตนของเด็กแต่ละคนว่าภายในใจลึกๆเป็นเช่นไร ลักษณะนิสัยของเด็กเป็นแบบไหน และนอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เด็กมีการใช้กล้ามเนื้อมือที่ดี ฝึกการมีสมาธิ ความอดทน ได้พัฒนาเรื่องมิติสัมพันธ์และความคิดสร้างสรรค์
-ได้รู้วิธีการในการปฏิบัติตัวของครูในการส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการช่วยเหลือตนเอง คุณครูมีความสงสารเด็กได้แต่ไม่ควรใจอ่อนกับเด็ก หรือช่วยเด็กในทุกๆเรื่องมากเกินความจำเป็น ควรฝึกให้เด็กหัดทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองเพื่อที่จะให้เด็กเติบโตขึ้นสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ครูต้องรู้จักการย่อยงานที่ถูกวิธีและเป็นลำดับขั้นตอนซึ่งสามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กพิเศษทำสิ่งต่างๆได้ 
ครูไม่ควรพูดมากแต่ควรเป็นผู้ฟัง เพราะการพูดมากโดยไม่คิดอาจส่งผลเสียต่อตนเองได้ ครูต้องรู้จักคิดและวางแผนล่วงหน้าอยู่ตลอดเวลา




การประเมินผล

ประเมินตนเอง
  ก่อนเรียนวันนี้ต้องยอมรับจากใจจริงเลยค่ะว่ารู้สึกง่วงและเหนื่อยมากยิ่งอากาศในห้องร้อนมากทำให้อยากให้อาจารย์ปล่อยเร็วๆ แต่พอได้ทำกิจกรรมก่อนเรียนก็ทำให้ความรู้สึกร้อนและอยากที่จะเลิกเรียนหายไปในทันทีเพราะรู้สึกสนใจสนุกกับคำถามที่อาจารย์ถาม ยิ่งกิจกรรมท้ายคาบเรียนที่ให้ระบายสีวาดรูปวงกลมก็ชอบมากเพราะเอาวงกลมมาติดแล้วสวยมากหลังจากทำกิจกรรมนี้แล้วนึกอยากเอารูปต้นไม้หลากสีนี้ไปแต่งห้องนอนของตนเองจริงเลยค่ะ ^_^ มีความสุขทุกๆครั้งที่ได้ทำกิจกรรมศิลปะบำบัดอยากให้ทุกๆคาบที่เรียนมีกิจกรรมแบบนี้มาให้ทำเรื่อยๆ วันนี้โดยรวมก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและรู้สึกชอบเรื่องราวที่อาจารย์นำมาเล่าให้ฟังสัปดาห์หน้าอาจารย์จะให้สอบย่อยฉันรู้สึกกลัวว่าจะทำข้อสอบไม่ได้จริงเลยค่ะT_T


ประเมินเพื่อน

วันนี้ได้ย้ายไปเรียนเวลาบ่ายร่วมกับเพื่อนภาคนอกเวลาเรียนทำให้ห้องเรียนดูเล็กไปทันทีเพราะจำนวนเพื่อนที่เรียนมีเยอะ และยิ่งแอร์ในห้องไม่เย็น รู้สึกร้อนทำให้เพื่อนในห้องไม่มีสมาธิเรียน หลายคนนั่งฟังอาจารย์ไปพัดไป หลายคนอยากให้อาจารย์ปล่อยเร็วๆ ก่อนทำกิจกรรมวาดระบายสีวงกลมเพื่อนหลายคนไม่อยากทำเนื่องจากทนกับอากาศร้อนไม่ไหวแต่พอได้ทำแล้วทุกคนก็ตั้งใจทำแทบจะไม่ได้ยินเสียงบ่นว่าร้อนหรืออยากเลิกเรียนเร็วๆท่าทางเพื่อนๆจะทำกิจกรรมสนุกจนลืมถึงเรื่องอากาศร้อนไปเลย ยิ่งพอถึงเวลาออกมาติดภาพทุกคนอยากที่จะออกมาติดภาพกันทุกคนเพราะอยากเห็นภาพที่ออกมาว่าจะสวยแค่ไหนกิจกรรมแปะภาพได้เห็นถึงความสามัคคีของเพื่อนๆแต่ละคนในการช่วยกันวางแผนติดแผ่นวงกลมให้เป็นรูปต้นไม้ที่มีสีสันสวยงาม

ประเมินอาจารย์


    อาจารย์มีความอดทนในการสอนมากแม้อากาศจะร้อนแต่ก็สอนจนจบคาบ เห็นอาจารย์สอนไปพัดพัดไปก็รู้สึกร้อนแทนเลยค่ะ  เนื้อหาที่สอนในวันนี้ทุกครั้งที่สอนอาจารย์เล่าประสบการณ์เกี่ยวกับเด็กพิเศษที่เคยพบเจอมาเล่าแทรกเนื้อหาที่สอนให้ฟัง ซึ่งอาจารย์ก็เล่าด้วยท่าทางที่เลียนเสียงคล้ายเด็กและเลียนเสียงผู้ปกครองของเด็กได้สมจริงและตลกมาก ฟังแล้วมองเห็นภาพเลยค่ะ โดยเฉพาะเรื่องราวของเด็กลูกครึ่งญี่ปุ่นที่รู้จักช่วยเหลือตนเองฟังแล้วรู้สึกรักในเด็กคนนี้จริงๆเลย รู้สึกทึ่งมากที่คนญี่ปุ่นสามารถเลี้ยงลูกได้ดีขนาดนี้ สำหรับกิจกรรมท้ายคาบ อาจารย์มีกิจกรรมศิลปะวาดระบายสีวงกลมมาให้ทำซึ่งกิจกรรมที่เตรียมมาให้ทำวันนี้เป็นกิจกรรมที่ง่ายที่เพื่อนๆสามารถทำได้ง่ายคนที่วาดภาพไม่เป็นก็ทำได้ อีกอย่างสามารถนำไปจัดกิจกรรมให้นักศึกษาออกมาติดวงกลมของตนเองแต่ละคนซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีมากเพราะทำให้เห็นถึงความร่วมมือกันของเพื่อนๆทุกคนในการวางแผนติดวงกลม จึงอยากให้อาจารย์มีกิจกรรมศิลปะบำบัดมาให้ทำทุกคาบเลย วันนี้อาจารย์เตรียมกิจกรรมมาดีมากๆค่ะ แม้ว่าอาจารย์จะมีธุระมากมายรวมถึงบรรยากาศในห้องเรียนไม่เอื้ออำนวยแต่การเรียนการสอนในวันนี้ก็ผ่านไปได้ด้วยดี^_^



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น