ยินดีต้อนรับสู่บล็อก การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ของพิชากร แก้วน้อย ค่ะ

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่6



บันทึกอนุทินครั้งที่6
วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์  2558
เวลาเรียน  8.30-12.20 น.
เวลาเข้าเรียน 8.30 เวลาเข้าสอน 8.30  เวลาเลิกเรียน 12.20



ความรู้ที่ได้รับ

  วันนี้ก่อนเริ่มเรียนในเนื้อหาทฤษฎี อาจารย์มีกิจกรรมแบบทดสอบ รถไฟเหาะแห่งชีวิต มาให้ทำ ซึ่งแบบทดสอบนี้เป็นแบบทดสอบเชิงจิตวิทยาที่อาจารย์นำมาให้นักศึกษาทำเพื่อคลายเครียดก่อนการเรียน


       หลังจากทำแบบทดสอบนี้เสร็จแล้วอาจารย์ได้เฉลยคำตอบในแต่ละข้อของแบบทดสอบ เมื่อเพื่อนๆในห้องได้รู้คำตอบที่แท้จริงที่ตัวเองตอบรวมถึงคำตอบของเพื่อนๆที่แต่ละคนตอบก็ทำให้เพื่อนๆถึงกับหัวเราะไม่หยุด ท่าทางทุกคนจะดูสนุกสนานที่ได้ทำแบบทดสอบนี้จริงๆ จากการที่ทำแบบทดสอบนี้ก็ทำให้รู้ว่าในใจลึกๆเราคิดอย่างไร เป็นคนอย่างไร

           หลังจากเฉลยแบบทดสอบเสร็จแล้วอาจารย์ให้วาดรูปรถไฟเหาะในแบบของตัวเอง
เมื่อแต่ละคนวาดเสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้เฉลยเกี่ยวกับสิ่งที่แต่ละคนวาดว่า ภาพที่วาดออกมานั้นเปรียบเทียบให้เห็นถึงชีวิตของตนเองว่าเราต้องการให้มีอะไรเข้ามาในชีวิต ต้องการชีวิตในแบบไหน ชีวิตของเรานั้นผ่านอะไรมาบ้าง

จากที่เห็น ภาพของฉันต้องมีอุปสรรคเข้ามาในชีวิตอย่างมากแน่ๆเลย เพราะในภาพในแต่ละเส้นทางต้องผ่านด่านและอุปสรรคมากมายกว่าจะถึงที่หมาย



เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้
                                        เรื่อง  การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ


ทักษะทางสังคม
เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ของเด็กแต่อยู่ที่ตัวของเด็กแต่ละคน
การให้เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข ดังนั้นในการส่งเสริมทักษะทางสังคมควรเน้นไปที่ตัวของเด็กแต่ละคนเองโดยเฉพาะเด็กพิเศษ

กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางสังคม
กิจกรรมการเล่น  
 การเล่นเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม 
 เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
 ในช่วงแรกๆ เด็กพิเศษจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

ยุทธศาสตร์การสอน
-เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่นไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร วิธีการในช่วยของครูเช่น พยายามหาเพื่อนเข้าไปเล่นร่วมกันกับเด็กอย่าปล่อยให้เด็กเลนคนเดียว เมื่อเด็กได้เล่นด้วยกันแล้วทำให้เด็กได้มีโอกาสสังเกตพฤติกรรมการเล่นของเพื่อน จากนั้นเด็กก็จะสามารถเลียนแบบพฤติกรรมการเล่นของเพื่อนได้ แต่ถ้าหากไม่สามารถหาเพื่อนไปเล่นได้ครูเองอาจเป็นผู้สาธิตวิธีการเล่นให้เด็กพิเศษได้
-ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
-ครูจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กจากการสังเกตเด็ก
-การจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กพิเศษอย่างละเอียด ชัดเจนเพื่อที่จะใช้เป็นข้อมูลสำหรับทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
-วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง เพื่อให้เด็กเลือกเล่นได้ตามความสนใจ
-คำนึงถึงเด็กทุกๆคน ไม่ควรเน้นไปที่เด็กพิเศษโดยเฉพาะ กิจกรรมการเล่นไม่ควรยากหรือง่ายเกินไปแต่ควรเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กทุกคน
-จัดกลุ่มให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน ในกลุ่มๆหนึ่งควรจัดให้มีเด็กพิเศษและเด็กปกติรวมกัน อาจจะจัดให้มีเด็กปกติ3คน เด็กพิเศษ1 คน เด็กปกติจะที่ทำหน้าที่เหมือน ครูให้กับเด็กพิเศษ


ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
การให้แรงเสริมของครู  เช่น การอยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
                                         ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป ชมเชยได้แต่ต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น ที่สำคัญคือครูไม่ควรชมเชยหรือชักจูงเด็กในขณะที่เด็กกำลังทำกิจกรรมอยู่
เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่มในกิจกรรมที่เด็กทำเสร็จเร็วเพื่อยืดเวลาการเล่นและเพื่อให้เด็กมีเวลาปฏิสัมพันธ์ร่วมกันกับเพื่อน
ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม 

    อุปกรณ์ที่นำมาให้เด็กเล่นในกิจกรรมกลุ่มไม่ควรมีจำนวนชิ้นของเล่นพอดีกับเด็กทุกคนควรให้น้อยกว่าจำนวนเด็กครึ่งหนึ่ง เพื่อสอนให้เด็กเรียนรู้กฎกติกา กฎระเบียบในการเล่น รู้จักการแบ่งปันและการเล่นร่วมกันกับเพื่อน

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
ทำโดย การพูดนำของครู

  ตัวอย่างเช่น กรณีที่เด็กอยากเข้าไปเล่นกับเพื่อนแต่ไม่กล้าเข้าไปเล่น โดยการที่ครูพูดชักชวนให้เด็กเข้าไปเล่นกับเพื่อนให้เหมาะสมกับบริบทที่กลุ่มของเด็กกำลังเล่นอยู่ ครูควรให้แรงเสริมทั้ง2ฝ่าย
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
-ในห้องเรียนรวมจะไม่มีการละเว้นกฎกติกาให้กับเด็กพิเศษ ทุกคนในห้องเรียนรวมมีสิทธิเหมือนกันทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ไม่มีการงดเว้นสำหรับคนใดคนหนึ่ง ดังนั้นจึงถือว่าไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลยสำหรับเด็กพิเศษในการทำสิ่งต่างๆ  เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง 



 หลังจากเรียนในเนื้อหาเสร็จอาจารย์มีข้อสอบ Post test ให้นักศึกษาในห้องช่วยกันตอบคำถาม




กิจกรรมร้องเพลง
   เพลงมาสอนร้องทั้งหมด 6 เพลง มีเพลงดวงอาทิตย์ เพลงดวงจันทร์  เพลงดอกมะลิ  เพลงกุหลาบ  เพลงนกเขาขัน  เพลงรำวงดอกมะลิ ผู้แต่งคือ ศรีนวล  รัตนสุวรร


อาจารย์และเพื่อนๆในห้องร้องเพลงไปพร้อมๆกัน


กิจกรรมท้ายคาบเรียน ในวันนี้เป็นกิจกรรมบำบัดโดยการวาด ชื่อกิจกรรมเส้นกับจุด

   อาจารย์ให้จับคู่2คน ช่วยกันวาดโดยให้มีกติกาว่า ให้คนหนึ่งเป็นคนวาดเส้น และอีกคนเป็นคนวาดจุด แต่ละคนจะมีสีเทียนสำหรับวาดคนละสี
   กติกาในการวาดให้คนที่วาดเป็นเส้น ให้วาดเป็นเส้นอะไรก็ไปไปเรื่อยๆโดยห้ามยกมือขึ้นเด็ดขาดและในการวาดต้องให้เส้นที่วาดตัดกันเป็นวงกลม คนที่ทำหน้าที่วาดจุดจะต้องวาดจุดลงไปในรูปวงกลมที่ตัดกัน วงกลมละ1จุด ซึ่งในขณะที่วาดอาจารย์จะเปิดเพลงบรรเลงสำหรับบำบัดเด็กพิเศษไปด้วยในขณะที่วาดให้พยายามได้ใส่ความรู้สึกจากเสียงดนตรีที่บรรเลงลงไปขณะที่วาด




  หลังจากที่วาดลายเส้นและต่อเติมจุดลงไปในวงกลมแต่ละเส้นเสร็จแล้วลองมองดูสิ ว่าลายเส้นที่วาดออกมาสามารถจินตนาการเป็นรูปอะไรได้บ้าง


                                                    มองให้เห็นว่าเป็นภาพอะไรได้บ้างนะ?
                                                                 


        ฉันจินตนาการออกมาเป็นรูปภาพ ไก่ในสวนที่เต็มไปด้วยผีเสื้อ หนอน และดอกไม้




 


        ผลงานของเพื่อนๆแต่ละคู่ แต่งแต้มจินตนาการออกมาเป็นภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อ




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

 -ได้รู้วิธีการในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเล่นสำหรับเด็กพิเศษเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจอยากจะเล่น และสามารถนำวิธีการในการสอนให้เด็กพิเศษได้รู้วิธีการเล่นสิ่งต่างๆได้เองอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด
 -ได้รู้วิธีการในการปฏิบัติตัวของครูในขณะที่เด็กทำกิจกรรม เช่นสามารถเข้าใจและเลือกสถานการณ์ในการให้แรงเสริมเด็กได้อย่างเหมาะสม  วิธีการในการแก้ปัญหาเมื่อเด็กไม่ยอมแบ่งของเล่นให้เพื่อนเล่นครูควรมีวิธีการอย่างไรและเทคนิคการใช้คำพูดอย่างไรกับเด็ก
 -สามารถนำวิธีการในการแก้ปัญหากับเด็กไปปรับใช้กับเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เช่นการแก้ปัญหาในการให้แรงเสริมซึ่งถือว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง
-สามารถนำเนื้อเพลงที่อาจารย์แจกให้และเพลงที่ได้ฝึกร้องนำไปใช้สอนเด็กปฐมวัยในการจัดกิจกรรมในหน่วยการเรียนรู้ที่จะสอนหรือสอนให้เด็กเรียนรู้เรื่องต่างๆโดยใช้เพลงได้ง่ายขึ้น
-นำกิจกรรมบำบัดโดยการวาดภาพลายเส้นและจุดไปใช้จัดกิจกรรมสำหรับบำบัดเด็กพิเศษได้


การประเมินผล

ประเมินตนเอง
    
  วันนี้ก่อนเรียนได้เดินไปช่วยอาจารย์ยกอุปกรณ์การสอนรู้สึกดีมากๆเลยคะถ้าวันไหนฉันมาก่อนเวลาเรียนฉันจะพยายามไปช่วยอาจารย์ยกของอีกครั้งให้ได้ค่ะ กิจกรรมก่อนการเรียนวันนี้ได้ทำแบบทดสอบของอาจารย์แล้วรู้สึกสนุกมากเลยคะ ในเรื่องเนื้อหาการเรียนการสอนในวันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและมีส่วนร่วมในการตอบคำถามตลอดทั้งคาบ วันนี้มีเนื้อหาไม่มากเลยรู้สึกเข้าใจในเรื่องที่เรียนได้ดี  กิจกรรมร้องเพลงในวันนี้ถึงแม้ว่าอาจารย์จะชมทั้งห้องว่าร้องได้ดีแต่ฉันคิดว่าเสียงของฉันยังร้องไม่ค่อยเพราะเท่าไหร่แต่ฉันก็พยายามตั้งใจร้องเพลงทุกๆเพลงอย่างเต็มที่ เพลงที่ร้องวันนี้ก็ชอบมากๆเลยโดยเฉพาะเพลงนกเขาขัน รู้สึกว่าเพลงนี้น่ารักดีค่ะ สุดท้ายกิจกรรมวาดภาพบำบัดเส้นและจุดฉันตื่นเต้นมากเลยคะกับกิจกรรมนี้เพราะคิดไม่ออกว่าอาจารย์จะให้ทำอะไรพอได้วาดภาพก็รู้สึกสนุกได้ใช้ความคิดและจินตนาการในการวาดออกมาเป็นภาพซึ่งฉันชอบมากๆเลยค่ะอยากให้อาจารย์มีกิจกรรมแบบนี้อีก   


ประเมินเพื่อน


    วันนี้มีเพื่อนสนุกสนานกับการเรียนอย่างมากโดยเฉพาะกิจกรรมแบบทดสอบจิตวิทยาที่อาจารย์เอามาให้เล่นคลายเครียดก่อนการเรียน เพื่อนๆได้เล่นแล้วก็หัวเราะสนุกสนานกัน

   เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้ เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน วันนี้เพื่อนไม่ค่อยคุยกันเหมือนวันอื่นๆเลยเกือบทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามและตั้งใจฟังอาจารย์สอน 
   กิจกรรมร้องเพลง เพื่อนๆร้องเพลงได้ค่อนข้างเพราะ เสียงค่อนข้างกลมกลืนกันและร้องได้ดีกว่าทุกๆครั้ง
   กิจกรรมบำบัดวาดภาพเส้นกับจุด  ทุกคนดูผ่อนคลายมากที่ได้ทำกิจกรรมนี้ ถึงแม้จะมีเสียงบ่นเรื่องการวาดภาพเล็กน้อยแต่เพื่อนๆก็มีสุขที่ได้ทำกิจกรรมนี้เพราะได้ทำงานไปพูดคุยกันระหว่างการวาดภาพตลอด



ประเมินอาจารย์

  วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมเกมบททดสอบทางจิตวิทยามาให้ทำแล้วทำให้นักศึกษารู้สึกสนุกและคลายเครียดก่อนการเรียนได้ดีมากๆเลยเพราะว่ามีบางคนที่ดูง่วงๆก่อนทำกิจกรรมแต่พอได้ทำกิจกรรมทำให้เพื่อนหายง่วงเพราะกิจกรรมแบบทดสอบของอาจารย์เรียกเสียงหัวเราะได้ เลยอยากให้อาจารย์มีกิจกรรมสนุกๆมาให้ทำก่อนเรียนทุกๆคาบเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและเรียกความสนใจในการเรียนค่ะ
วันนี้ก็เป็นอีกสัปดาห์หนึ่งที่เรียนแล้วไม่เบื่อเลยจริงๆ นอกจากจะได้เรียนในทฤษฎีแล้วอาจารย์ก็มีกิจกรรมที่หลากหลายมาสอนทั้งกิจกรรมแบบทดสอบจิตวิทยากลายเครียดก่อนเรียน กิจกรรมร้องเพลงซึ่งก็มีให้ร้องทุกๆสัปดาห์ กิจกรรมวาดภาพบำบัด ทั้งหมดนี้อาจารย์ได้เตรียมการสอนมาอย่างหลากหลาย กิจกรรมที่เตรียมมาก็ไม่ได้มีแต่ความสนุกสนานเพียงอย่างเดียวแต่ทุกสิ่งที่อาจารย์เตรียมมาได้สอดแทรกสิ่งต่างๆที่อาจารย์สอนเสมอ

    วันนี้อาจารย์ใส่ชุดนักศึกษาสีชมพูมาสอนแล้วน่ารักกลมกลืนกับนักศึกษามากๆเลย ชอบมากเลยค่ะอยากให้อาจารย์ใส่มาสอนอีก^///^




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น