ยินดีต้อนรับสู่บล็อก การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ของพิชากร แก้วน้อย ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่3


บันทึกอนุทินครั้งที่3
วันพุธที่ 28 มกราคม 2558
เวลาเรียน  8.30-12.20 น.
เวลาเข้าเรียน 8.30 เวลาเข้าสอน 8.30  เวลาเลิกเรียน 12.20



ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้ก่อนเริ่มเรียนในเนื้อหาทฤษฎีอาจารย์มีกิจกรรมมาให้ทำ โดยอาจารย์มีรูปดอกกุหลาบมาให้วาดโดยนักศึกษาทุกคนต้องพยายามวาดดอกกุหลาบให้เหมือนต้นฉบับมากที่สุด

                                     
                           ภาพดอกกุหลาบหลากสีที่อาจารย์เตรียมมาให้วาดเป็นแบบ


ดอกกุหลาบของฉันจะเป็นอย่างไรนะ?


ค่อยๆร่าง ค่อยๆวาด เริ่มมีเค้าโครงดอกกุหลาบเรื่อยๆ


ดอกกุหลาบของฉัน ลงสีเรียบร้อย   


    หลังจากวาดรูปเสร็จอาจารย์ให้เขียนบรรยายเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นจากดอกกุหลาบดอกนี้ จะเขียนอะไรก็ได้ไม่มีการบังคับ สำหรับฉันได้เขียนบรรยายถึงภาพนี้ว่า
    ดอกกุหลาบดอกนี้เปรียบเสมือนชีวิตของคนเราที่เต็มไปด้วยความรักในแต่ละรูปแบบ ทั้งความรักที่สดใสดั่งเช่นสีแดง ความรักที่อบอุ่นละมุนเหมือนสีชมพู ความรักที่บริสุทธิ์ดั่งสีขาวและในขณะเดียวกันก็มีความรักที่เต็มไปด้วยความเศร้า ความมืดหม่นเปรียบดั่งสีดำซ่อนอยู่ตามกลีบกุหลาบที่บานกระจายออกมาแต่ละกลีบ..
   
      จากข้อความที่บันทึกนี้ใช้การบรรยายในเชิงเปรียบเทียบสีของดอกกุหลาบแทนสิ่งต่างๆตามความคิดและความรู้สึกของผู้บันทึกเอง ซึ่งการเขียนลักษณะนี้เหมือนเป็นการใส่ความรู้สึกจินตนาการของผู้บันทึกเองล้วนๆไม่มีการเขียนบรรยายรายละเอียดตามสิ่งที่เห็นและเป็นจริง ในการเขียนบันทึกดอกไม่ในลักษณะนี้ก็ไม่ถือว่าผิด  แต่สำหรับการเขียนบันทึกพฤติกรรมของเด็กนั้นถ้าเขียนบรรยายแบบนี้ถือว่าผิดไม่สมควรบันทึก เพราะถ้าผู้บันทึกบันทึกพฤติกรรมของเด็กตามอารมณ์ความรู้สึกของตนเองโดยที่ไม่บันทึกตามความเป็นจริงจากรายละเอียดตามสิ่งที่เห็น ก็จะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงได้..  


เนื้อหาทฤษฎีที่อาจารย์สอนในวันนี้เกี่ยวกับเรื่องของ บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียน

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียน
    ครูไม่ควรวินิจฉัยหรือตัดสินใจว่าเด็กเป็นอะไรโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่างจากอาการที่แสดงออกมาเพราะอาจนำไปสู่ความเข้าใจที่ผิดได้ แต่ครูสามารถสันนิฐานได้ว่าเด็กอาจจะเป็นอะไรได้
    ครูไม่ควรตั้งชื่อ(ฉายา)หรือระบุประเภทของเด็ก เป็นผลเสียต่อเด็กทำให้เด็กคิดมากเกี่ยวกับตนเอง เด็กเปรียบเทียบตนเองกับเพื่อนเช่นเมื่อเด็กมีฉายาของตนเองแต่เพื่อนไม่มีเด็กจะรู้สึกว่าตนเองเองนั้นแปลกกว่าเพื่อนยิ่งนานไปเด็กอาจจะคิดว่าตนเองเป็นอย่างที่คนอื่นเรียกจริงๆกลายเป็นว่าทำให้เด็กปรับตัวเองให้เป็นเช่นนั้น
     ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหาจึงไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว ดังนั้นครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง และครูต้องช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา 


สิ่งที่ครูควรปฏิบัติ
  -ครูไม่ควรนำเรื่องที่ไม่ดีเกี่ยวกับตัวเด็กไปเล่าให้ผู้ปกครองทราบแต่ควรชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆที่เด็กทำได้ ต้องรู้จักเลือกใช้คำพูดที่ทำให้ผู้ปกครองฟังเรื่องราวเกี่ยวกับลูกของตนเองแล้วสบายใจ
   -ครูควรมีการให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือการวินิจฉัยให้ผู้ปกครองทราบ
   -ครูต้องมีการสังเกตเด็กอย่างมีระบบคือ ครูต้องสังเกตเด็กเป็นภาพรวมก่อนเพื่อเปรียบเทียบแล้วค่อยสังเกตเด็กที่มีลักษณะเข้าค่ายเป็นรายบุคคล โดยการบันทึกต้องบันทึกทุกอย่างที่เด็กทำโดยไม่มีข้อคิดเห็นส่วนตัวและจดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
โดยการบันทึกการสังเกตมีทั้งหมด 3 รูปแบบ
         1.การนับอย่างง่ายๆ เป็นการนับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรมว่ามีกี่ครั้งในแต่ละวันแต่ละชั่วโมง            โดยพฤติกรรมที่นับต้องเป็นพฤติกรรมในด้านลบ
         2.การบันทึกต่อเนื่อง เป็นการบันทึกที่ให้รายละเอียดได้มากโดยจะเขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วง                เวลาหนึ่งหรือช่วงกิจกรรมหนึ่งตั้งแต่ต้นจนจบโดยที่ไม่มีการเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ การบันทึก                แบบต่อเนื่องนี้จะเป็นการบันทึกที่เน้นภาพรวมมากที่สุด
         3.การบันทึกไม่ต่อเนื่อง เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนแค่พฤติกรรมใด                  พฤติกรรมหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งโดยจะบันทึกลงในบัตรเล็กๆ
  - ครูควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่องของพฤติกรรม พฤติกรรมไหนที่ไม่เหมาะสมแต่พบได้ในเด็กทุกคนถือว่าไม่จัดเป็นสิ่งผิดปกติ
  - ครูต้องมีการตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง

                                                      
                                              
บรรยากาศในการเรียนการสอน
 อาจารย์ยกตัวอย่างให้เพื่อนเป็นเด็กพิเศษเพื่อการเรียนการสอนที่สนุกสนาน เรียกความสนใจในการเรียนได้ดี



ทบทวนความรู้ท้ายคาบ
     อาจารย์มีข้อสอบ Post test ทดสอบความรู้ที่ได้รับหลังเรียนมาให้นักศึกษาช่วยกันตอบคำถามภายในคาบ



ก่อนเลิกคาบเรียนอาจารย์แจกเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยและมีเพลงมาสอนร้อง1เพลง





 เพลงที่อาจารย์สอนร้องวันนี้ชื่อเพลง  ฝึกกายบริหาร   ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ      
        

                                                                  ฝึกกายบริหาร
                                                     ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
                                                     ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
                                                           รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
                                                           รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
                                                          








การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   -สามารถนำวิธีการในการบันทึกสังเกตพฤติกรรมเด็กพิเศษไปใช้เป็นแนวทางในการบันทึกพฤติกรรมของเด็กเพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลจากสิ่งที่บันทึกได้อย่างถูกต้องชัดเจน
   -สามารถนำเทคนิควิธีการใช้คำพูดในการสื่อสารกับผู้ปกครองของเด็กไปปรับใช้เพื่อให้ผู้ปกครองฟังฟังแล้วรู้สึกสบายใจเกิดความหวังในด้านบวกและในขณะเดียวกันก็มีวิธีการในการพูดที่ไม่ให้ผู้ปกครองเกิดความหวังแบบผิดๆด้วย
 -นำเพลงที่ร้องในวันนี้ไปใช้เป็นสื่อในการจัดกิจกรรมกับเด็กตามความเหมาะสมได้
  -สามารถนำเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์ในวันนี้นำไปประยุกต์ใช้ในการสอนให้กับเด็กได้ คือมีกิจกรรมศิลปะมาเร้าความสนใจก่อนการเรียนในเนื้อหาเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกสนใจและสร้างความรู้สึกสงสัยในกิจกรรมและเนื้อหาที่สอนได้ 



การประเมินผล

ประเมินตนเอง
    
  วันนี้รู้สึกแปลกใจที่อาจารย์เตรียมกระดาษมาให้วาดรูปดอกไม้ สงสัยเหมือนกันว่าทำไมต้องวาดรูป แล้วเกี่ยวอะไรกับวิชาที่ได้เรียน ได้ทำกิจกรรมวาดรูปดอกกุหลาบก่อนเรียน รู้สึกผ่อนคลายและชอบมาก รูปดอกไม้ยากมากแต่ได้วาดรูปยากๆรู้สึกว่าท้าทายความสามารถดี วาดภาพออกมาได้ค่อนข้างดีก็รู้สึกภูมิใจในความสามารถตนเองมาก ตั้งใจวาดมากๆเลยถ้ามีเวลาในการวาดมากกว่านี้คิดว่าคงทำได้ดีกว่านี้แน่นอนค่ะ สำหรับเนื้อหาที่ได้เรียนวันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกคำแนะนำ ความรู้ที่สำคัญลงสมุดตลอดต้นคาบจนสิ้นสุดคาบเรียน วันนี้รู้สึกว่าเป็นคาบเรียนที่เรียนแล้วได้อารมณ์ที่หลากหลายมากจากกิจกรรมและเนื้อหาที่ได้เรียน
   


ประเมินเพื่อน


     
ก่อนเรียนวันนี้เพื่อนๆทุกคนได้วาดรูปดอกกุหลาบ ดูเหมือนจะเป็นงานยากสำหรับสำหรับหลายๆคนเพราะบางคนก็วาดไปบ่นไปทำหน้าเครียดไปด้วย บางคนวาดเสร็จอย่างรวดเร็วและวาดสวยด้วยก็มี ถึงแม้ส่วนมากทุกคนจะบ่นแต่สิ่งที่เหมือนกันคือทุกคนดูสนุกสนานที่ได้ทำงานไปพูดคุยกันไป เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้เพื่อนๆเกือบทุกคนมีความตั้งใจในการเรียน หลายคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์ เพื่อนๆสนุกสนานกับการเรียนมากโดยเฉพาะช่วงที่อาจารย์ยกตัวอย่างเพื่อนในห้องให้เป็นเด็กพิเศษแล้วมีรูปมาใส่เรียกเสียงหัวเราะได้อย่างมาก เพื่อนเกือบทุกคนลุ้นมากว่าตนเองจะได้เป็นเด็กพิเศษหรือเปล่า วันนี้รู้สึกว่าเพื่อนๆจะมีความสุขกับการเรียนทุกคนดูไม่เบื่อเลยเพราะได้ทำทั้งกิจกรรมและเรียนในเนื้อหาทฤษฎีไปด้วย


ประเมินอาจารย์


  อาจารย์มีวิธีการสอนที่ดีมากเพราะตอนแรกให้นักศึกษาทำกิจกรรมโดยให้วาดรูปดอกไม้ที่เหมือนจะไม่เกี่ยวกับวิชาที่สอน คิดไม่ถึงเลยว่ากิจกรรมนี้สามารถเชื่อมมาสู่เนื้อหาวิชาที่สอนได้ ซึ่งการสอนแบบนี้ฉันคิดว่าทำให้นักศึกษาจำในเนื้อหาได้ดีเลยทีเดียว เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องที่สอนวันนี้อาจารย์ก็สอนได้ละเอียดชัดและยังมีการยกตัวอย่างให้เพื่อนในห้องแทนเด็กพิเศษที่มีในลักษณะต่างๆทำให้นักศึกษาเข้าใจและมองเห็นภาพได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันก็เรียกเสียงหัวเราะ เป็นเทคนิคที่ดึงความสนใจในการเรียนได้ดี เพราะนักศึกษาจะได้ทั้งความรู้และความสนุกในการเรียนไปพร้อมๆกัน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น